ความต่างขั้วอันน่าทึ่งและความคล้ายคลึงที่น่าสนใจ ❄️
ขั้วโลกเหนือและขั้วโลกใต้มีความหนาวเย็นเหมือนกัน แต่มีความต่างในแง่ของปัจจัยทางภูมิศาสตร์ อีกทั้งฤดูกาลของทั้งสองขั้วมีความเกี่ยวข้องกับการเอียงของแกนโลก และการที่โลกหมุนรอบดวงอาทิตย์ ปัจจัยเหล่านี้ส่งผลให้แสงแดดและอุณหภูมิในแต่ละที่นั้นมีการเปลี่ยนแปลงตลอดทั้งปี ✨
เหนือสุดลูกหูลูกตา
“ขั้วโลกเหนือ” เป็นบริเวณที่ผืนน้ำล้อมรอบผืนดินคือ มหาสมุทรอาร์กติก (Arctic Ocean) ซึ่งคำว่า “Arctic” มาจากคำว่า “Arktos” ในภาษากรีกแปลว่า “ดาวหมีใหญ่” 🐻 ที่หมุนวนอยู่รอบ ๆ ดาวเหนือ ซึ่งที่ไทยอาจจะเรียกว่า “ดาวจระเข้” 🐊 ที่มหาสมุทรอาร์กติกจะมีแผ่นน้ำแข็งลอยอยู่ บางแผ่นอาจมีความหนาถึง 5 เมตร การเอียงของแกนโลกส่งผลให้แสงแดดและอุณหภูมิมีการเปลี่ยนแปลงได้ตลอดทั้งปี ดังนี้
- Summer Solstice: เป็นช่วงที่กลางวันยาวสุดในรอบปี เกิดในช่วงเดือนมิถุนายน โดยขั้วโลกเหนือจะเอียงไปทางดวงอาทิตย์ ทำให้ได้รับแสงอาทิตย์อย่างต่อเนื่องเป็นเวลานาน ส่งผลให้มีแสงสว่าง 24 ชั่วโมง
- Autumnal Equinox: เป็นช่วงที่กลางวันจะเท่ากับกลางคืนเริ่มฤดูใบไม้ร่วง เกิดในช่วงเดือนกันยายน โดยขั้วโลกเหนือเริ่มเอียงออกจากดวงอาทิตย์ ส่งผลให้เวลากลางวันลดลง และอุณหภูมิจะเย็นลงอย่างค่อยเป็นค่อยไป
- Winter Solstice: เป็นช่วงที่กลางวันจะสั้นกว่ากลางคืน เกิดในช่วงเดือนธันวาคม โดยขั้วโลกเหนือเอียงออกจากดวงอาทิตย์ ส่งผลให้เกิดความมืดเป็นเวลานานและอุณหภูมิที่เย็นจัดถึง 24 ชั่วโมงในตอนกลางคืน
- Vernal Equinox: เป็นช่วงที่กลางวันจะเท่ากับกลางคืนถือเป็นการเปลี่ยนผ่านจากฤดูหนาวสู่ฤดูใบไม้ผลิซึ่ง เกิดในช่วงเดือนมีนาคม โดยที่ขั้วโลกเหนือเริ่มเอียงไปทางดวงอาทิตย์อีกครั้ง ส่งผลให้มีเวลากลางวันยาวนานขึ้นและอุณหภูมิจะค่อย ๆ เพิ่มขึ้น
สุดขอบรอบใต้
“ขั้วโลกใต้” เป็นบริเวณนี้ผืนดินล้อมรอบผืนน้ำคือ ทวีปแอนตาร์กติกา (Antarctica) คำว่า “Antarctica” เติม Ant (แปลว่า ตรงข้าม หรือคำเต็ม ๆ คือ Anti) ผนวกกับคำเดิม Arctic ความหมายก็จะเป็น “ตรงข้ามอาร์กติก” 🌊 ทวีปแอนตาร์กติกานั้นจะปกคลุมด้วยแผ่นน้ำแข็งที่มีความหนาเฉลี่ยราว 2,200 เมตร โดยเป็นแหล่งน้ำจืดราว 70% ซึ่งการเอียงของแกนโลกส่งผลให้แสงแดดและอุณหภูมิมีการเปลี่ยนแปลงได้ตลอดทั้งปี ดังนี้
- Summer Solstice: เป็นช่วงที่กลางวันยาวสุดในรอบปี เกิดในช่วงเดือนธันวาคม โดยขั้วโลกใต้จะเอียงไปทางดวงอาทิตย์ และได้รับแสงอาทิตย์อย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลานาน ส่งผลให้มีแสงสว่าง 24 ชั่วโมง
- Autumnal Equinox: เป็นช่วงที่กลางวันจะเท่ากับกลางคืนเริ่มฤดูใบไม้ร่วง เกิดในช่วงเดือนมีนาคม โดยขั้วโลกใต้เริ่มเอียงออกจากดวงอาทิตย์ ส่งผลให้เวลากลางวันลดลง และอุณหภูมิจะเย็นลงอย่างค่อยเป็นค่อยไป
- Winter Solstice: เป็นช่วงที่กลางวันจะสั้นกว่ากลางคืน เกิดในช่วงเดือนมิถุนายน โดยขั้วโลกใต้เอียงออกจากดวงอาทิตย์ ส่งผลให้เกิดความมืดเป็นเวลานานและอุณหภูมิที่เย็นจัดถึง 24 ชั่วโมงในตอนกลางคืน
- Vernal Equinox: เป็นช่วงที่กลางวันจะเท่ากับกลางคืนถือเป็นการเปลี่ยนผ่านจากฤดูหนาวสู่ฤดูใบไม้ผลิซึ่ง เกิดในช่วงเดือนกันยายน โดยที่ขั้วโลกใต้เริ่มเอียงไปทางดวงอาทิตย์อีกครั้ง ส่งผลให้มีเวลากลางวันยาวนานขึ้นและอุณหภูมิจะค่อย ๆ เพิ่มขึ้น
วันคืนผันผ่านฤดูกาลผันเปลี่ยน 🌟
“ฤดูกาล” เกิดขึ้นเนื่องจากการเอียงของแกนโลกที่เอียงทำมุมประมาณ 23.5 องศา กับ ระนาบวงโคจรของโลกรอบดวงอาทิตย์ ส่งผลให้ระยะเวลาในช่วงกลางวันและกลางคืนจากดวงอาทิตย์แตกต่างกันไปในแต่ละช่วงของปี ทำให้ในช่วงเวลาของปี แต่ละบริเวณจะได้รับแสงแดดไม่เท่ากัน มีอุณหภูมิต่างกัน จึงเกิดเป็นฤดูกาลต่าง ๆ ขึ้น
“ฤดูกาล” มีความสำคัญในการปลูกต้นไม้อย่างมาก เพราะอุดมไปด้วยสภาพภูมิอากาศที่เอื้อ อุณหภูมิแบบพอเหมาะ การถ่ายเทอากาศ น้ำ แสงสว่างอย่างพอดี ถ้าปลูกถูกช่วงตามฤดูกาลจะช่วยให้ต้นไม้แต่ละชนิดเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว และผลผลิตออกมาดี
โคจรเปลี่ยนแปลงและแสงก็เปลี่ยนไป 🌞
การศึกษาขั้วโลกเหนือและขั้วโลกใต้ ช่วยให้เราเข้าใจเกี่ยวกับการเอียงของแกนโลก ส่งผลต่อแสงที่เปลี่ยนในแต่ละฤดูกาล ช่วงเวลาไหนของแสงเหมาะสมกับสายพันธ์ุของเรามากที่สุด
LEAF5 ให้ความสำคัญกับ Harmony of Light เพราะเชื่อว่า “แสง” คือสิ่งดึงความพิเศษของสายพันธ์ุที่เราปลูก และสามารถพัฒนา Genotype ให้ดีขึ้นได้ เนื่องจากฤดูกาลจะมีการปรับเปลี่ยนอยู่ตลอดทั้งปี ปริมาณแสงที่ต้องการอาจมาไม่พอสำหรับการปลูก ดังนั้นถ้าอยากให้แสงอยู่กับต้นไม้ตลอดเวลาอย่างสม่ำเสมอ ควรใช้ผลิตภัณฑ์ HydraOS ดีที่สุด เพราะเป็นเครื่องมือที่ช่วยควบคุมแสงได้อย่างแม่นยำ เป็นการจำลองและปรับแสงตามฤดูกาลในสถานที่ต่าง ๆ ทั่วทุกมุมโลก เพื่อให้เหมาะสมกับสายพันธุ์ของเรามากที่สุด สะดวกง่ายต่อการปลูกในสภาพอากาศและฤดูกาลที่ผกผันตามภาวะการเปลี่ยนแปลงของโลกแต่ละวัน 🌿