การหายใจของต้นไม้ 101

ทำความเข้าใจเบื้องต้น

‘การหายใจของต้นไม้’ คือผลของการสังเคราะห์แสงอย่างหนึ่ง เนื่องจากกระบวนการสองอย่างนี้มีความเกี่ยวพันกันอย่างใกล้ชิดผ่านการเปิดและปิดของปากใบ (stomata) ซึ่งเป็นโครงสร้างเล็ก ๆ บนผิวใบพืชที่ควบคุมการแลกเปลี่ยนก๊าซ และการคายน้ำ

ขั้นตอนการทำงานของปากใบ

  • สังเคราะห์แสง + นํ้า + CO2 = O2 + พลังงาน 
  • การเปิดปากใบเพื่อการแลกเปลี่ยนก๊าซ: ในระหว่างการสังเคราะห์แสง ต้นไม้ต้องดูดคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) เข้ามาในใบเพื่อใช้ในกระบวนการสังเคราะห์แสงผลิตน้ำตาลและออกซิเจน เพื่อให้ได้ CO2 จำนวนมากพอ ปากใบจะเปิดออก ในขณะเดียวกันการเปิดของปากใบนี้ ยังทำให้น้ำในต้นไม้สามารถระเหยออกสู่อากาศภายนอกได้ (คายน้ำ)
  • การสูญเสียน้ำเพื่อลดอุณหภูมิ: การคายน้ำผ่านปากใบยังช่วยลดอุณหภูมิภายในต้นไม้ ป้องกันไม่ให้ร้อนเกินไปในช่วงที่มีแสงแดดจัด ความร้อนสามารถเป็นอุปสรรคต่อการสังเคราะห์แสงได้ ดังนั้นการคายน้ำจึงช่วยให้ต้นไม้สามารถดำเนินกระบวนการสังเคราะห์แสงได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
  • การดึงดูดน้ำและธาตุอาหารจากราก: เวลาต้นไม้ดึงนํ้าขึ้นมาในปริมาณมากหรือน้อย นั้นขึ้นอยู่กับอุณหภูมิ และความชื้น เป็นการถ่ายเทแรงดันสูงไปแรงดันตํ่า เหมือนกับการเอาเชือกแช่นํ้าไว้ ความแห้งของเชือกจะดึงความชื้นขึ้นไต่ตามสายได้ เมื่อมีความอิ่มตัวของนํ้าในเชือกนํ้าจะไม่ถูกดึงขึ้น แต่เมื่อนํ้าระเหยออกจากเชือกก็จะถูกดึงขึ้น

ต้นไม้ปรับตัวเรื่องการหายใจ

  • อุณหภูมิสูง จะทำให้คายนํ้าไม่ได้: ส่งผลให้ต้นไม้สังเคราะห์แสงไม่ได้ รวมถึงกระบวนการสร้างอาหาร การรักษาอุณหภูมิยากขึ้น และระบบภายในลำต้นพังรวนเสียหายได้
  • ถ้าต้นไม้คายนํ้าได้ แต่มีแสงที่ไม่เพียงพอ: ต้นไม้จะมีอาการไม่สมดุล ทั้งด้านรักษาพลังงานโดยรวม ทำให้เกิดปัญหาต่อไปนี้ เช่น รากไม่แข็งแรง ใบเปลี่ยนสี การเจริญเติบโตช้าลง หรือต้นยืดสูงขึ้นเพื่อหาแสงที่สว่างเพื่อการดำรงชีวิต

สรุปเรื่องต้นไม้กับการหายใจ

  • การหายใจบนผิวใบ: สร้างความดันลบในระบบท่อลำเลียงน้ำภายใน ซึ่งช่วยดึงดูดน้ำและธาตุอาหารจากรากขึ้นมายังส่วนบนของต้นไม้ น้ำที่ถูกดูดขึ้นมานี้ใช้ในกระบวนการสังเคราะห์แสง และเป็นส่วนสำคัญในการรักษาโครงสร้างของเซลล์ต้นไม้
  • กลไกการหายใจ: ไม่เพียงแค่เปิดปากใบเพื่อการสังเคราะห์แสงเท่านั้น แต่ยังเป็นกลไกสำคัญที่ช่วยในการควบคุมอุณหภูมิ รักษาการดูดซึมน้ำ ธาตุอาหาร และเสริมสร้างประสิทธิภาพในการสังเคราะห์แสงอีกด้วย

LEAF5 กับการหายใจของต้นไม้

LEAF5 แนะ HydraSENSE: อุปกรณ์เซ็นเซอร์ไรสาย ทำงานโดยอัตโนมัติผ่าน WIFI ตรวจวัดข้อมูลสำคัญ ข้อมูล Realtime เพื่อติดตามสภาพแวดล้อมในห้องปลูกอย่างใกล้ชิด สามารถอ่านค่า และรับรู้ถึงปริมาณ CO2 ในห้องปลูกได้อย่างสะดวกรวดเร็วมากขึ้น

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *